วงสนทนาบ่ายวันอาทิตย์ กิจกรรม ‘Abstract Mind’ in conversation ที่จุดประกายต่อยอดบทสนทนา คำถาม คำตอบ การแบ่งปันอีกหลายๆประเด็น พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ของการแบ่งปัน process thought after talk ร่วมแบ่งปันความรู้สึกความคิดเห็นได้ในพื้นที่ blog post แห่งนี้
ขอขอบคุณผู้ชมทุกท่านที่มาร่วมสร้างบรรยากาศแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างสนุกสนาน หวังว่าทุกท่านจะได้ความประทับใจกลับไป
ขอขอบคุณ Guest Speaker ทั้ง 3 ท่าน ที่มาร่วมเสริมความอบอุ่นให้วงสนทนาในวันนี้ ขอบคุณคุณกิตินัดดา อิทธิวิทย์ นักจิตวิทยาการปรึกษาและผู้ร่วมก่อตั้ง Masterpeace, คุณอตินุช ตันติวิท ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการแกลเลอรี ATTA และอ.ดร.วิภูษณะ ศุภนคร อาจารย์ประจำสาขาศิลปสัมพันธ์ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศิลปินแนวงานนามธรรม
ขอขอบคุณคุณว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ translator
ขอขอบคุณขนุน ที่มาช่วยบันทึกเนื้อหาวงสนทนา
สุดท้ายขอขอบคุณ ศิลปินเจ้าของผลงาน นาวิน ตันธนะเดชา ที่เป็นส่วนสำคัญทำให้งานครั้งนี้ได้เกิดขึ้น
Comments
-- ถ้าศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เสมือนกับพูดว่าศิลปะคือทุกอย่าง แล้วทำไมศิลปะบางรูปแบบจึงมีความพิเศษ มีคุณค่าเหนือกว่า "ศิลปะ" แบบอื่นๆ?
-- หรือก็อาจตอบได้ว่าจริงๆแล้วไม่มีความเหนือนั้น แล้วแต่คนแต่ละสมัยจะนิยมและสร้างความพิเศษนั้นขึ้นมา กึ่งๆเป็นวาทกรรมของสังคมนั้นๆ?
-- นั่นก็อาจจะหมายตามไปได้ด้วย ว่าศิลปะและนามธรรม (abstraction) ต่างๆ ล้วนเกี่ยวพันกับวาทกรรมเสมอ?
-- หรือ นามธรรมมันเป็นจริงอยู่แล้ว แต่จำเป็นจะต้องใช้วาทกรรม (การบัญญัติ ภาษา อื่นๆที่จับต้องได้) มาช่วยในการสื่อสารนามธรรมนั้น?
-- การสื่อสารนามธรรมนั้น จำเป็นหรือไม่? มีนามธรรมใดที่คิดว่าไม่จำเป็นที่จะต้องถ่ายทอดไหม?
-- เมื่อพูดถึงการสื่อสาร หรือเราอาจจะมองศิลปะเป็นเครื่องมือการสื่อสารแบบหนึ่งเท่านั้นเอง? โดยการสื่อสารเชิงนามธรรม ผู้พูดกับผู้ฟังจะมีปฏิกิริยากับสื่ออย่างไรก็ได้? สื่อ (งานศิลปะ) สามารถเข้าไปในใจของทั้งผู้สร้างสื่อและผู้รับสื่อ โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่ต้องเข้าใจกันก็ได้?
-- ในอีกนัยหนึ่ง เราคิดต่อถึงความเป็นวิทยาศาสตร์ ที่ทุกอย่างบนโลกก็มีและเป็นวิทยาศาสตร์ในตัวของมันเอง แต่นักวิทยาศาสตร์กลับมีหน้าที่ในการขยับขอบเขตขององค์ความรู้ให้กว้างออกและลึกลงไป เราสามารถที่จะมองศิลปะกับศิลปินในรูปแบบนั้นได้หรือไม่ ถ้าได้ บทบาทของศิลปินที่แตกต่างจากคนอื่น ๆ คืออะไร ในเมื่อศิลปะคือทุกอย่าง?
... :)
ชอบประเด็นเรื่องการ "ลดทอนถึงแก่น" ที่เชื่อม Abstract ทางด้านวิทยาศาสตร์(งานวิจัย)และศิลปะ ผมคิดต่อถึงการลดทอนเพื่อค้นหาแก่นของประสบการณ์ในฤดูกาลนั้นของตัวเอง
รวมไปถึงประเด็นการนิยาม Abstract ซึ่งผมมองว่าผู้สร้างอาจจะไม่ได้คิดถึงว่าผลงานเมื่อสำเร็จจะเป็นหมวดหมู่ไหนด้วยซ้ำ ในทางกลับกันถ้าผู้สร้างยึดติดอยู่กับปลายทางอาจจะทำประสบการณ์บางอย่างหล่นหายไปในกระบวนการด้วยซ้ำและอาจจะไม่มีวันไปถึงผลที่คาดหวังไว้เลย เลยทำให้คิดว่าการจัดหมวดหมู่จากคนอีกกลุ่มอาจต้องดูเจตนาและขอบเขตเช่น การจัดหมวดหมู่เพื่อศึกษาทางประวัติศาสตร์หรือการเรียบเรียงความรู้เพื่อส่งต่อ เป็นต้น
โดยส่วนตัว อยากให้วงคุยนี้เกิดขึ้นอีกนะครับจะเป็นที่สารัตถะหรือที่อื่นๆ ผู้เข้าร่วมจะกลายมาเป็น host หรือ host จะกลายมาเป็น moderator ก็น่าสนุกดีนะครับ จะเล่าไอเดียเรื่องการจัดไว้ในนี้ก็ได้เช่นกันนะครับ
ในฐานะคนไปชม ส่วนตัวคิดว่าความรู้สึกคล้ายๆกับที่เราอยากเข้าป่าเรื่อยมา แต่หลายๆทีก็ไม่กล้าไปป่า เพราะบางทีก็มีความกลัวไปหมดว่าเราจะเจออะไร กับสิ่งที่เราไม่รู้ กับสิ่งที่จินตนาการไปก่อน ถ้าเราเจอเราจะรับมือกับความรู้สึกพวกนั้นได้มั้ย จะจัดการกับความรู้สึกยังไงให้เดินไปต่อได้
ส่วนการเดินเข้าแกลลอรีก็คล้ายๆกัน ใจนึงก็อยากจะเปิดรับ อยากจะเข้าไป explore แต่หลายๆครั้งมีความกลัวมาบดบังไปหมด ว่า เราจะถูกคุกคามรึป่าว ถูกกดดันรึป่าว เราจะรู้สึก comfortable มั้ย เราจะถูก judge มั้ย
เราลองทบทวนความรู้สึกตัวเอง ที่ผ่านมาอะไรถึงตัดสินใจเดินเข้าแกลลอรี่ เดินเข้าป่า หรือการพาตัวเองลงclassกับครูนาวิน คงเป็นเพราะเราเริ่มรับรู้ความกลัวของตัวเอง วางใจว่าที่ที่เราจะไปเค้าน่าจะต้อนรับเรา เหมือนการเปิด‘บ้าน’ ในเราได้เข้าไปexplore อย่างสบายใจ ส่วนสิ่งที่เรากลัว จะวางมันไว้ก่อน หรือพกมันไปด้วยแบบให้มันอยู่ข้างๆไม่ต้องมาครอบงำเรา แล้วก็ค่อยไปลุ้นเอาว่าจะเจออะไร
เท่าที่ได้ฟังการแลกเปลี่ยนจาก หลายๆมุมมอง หลายๆผู้คนที่มีอาชีพการงานที่ต่างกัน เรารู้สึกว่าคีย์เวิร์ดของแต่ละคน empathy, space, identity, kindness, safe, secure, relax, connect, openness to the diversity ฯลฯ ซึ่งคำเหล่านี้คือการนิยามของคำว่า ’บ้าน’ สำหรับเรา
ในฐานะผู้จัดทำ gallery อาจจะนึกถึงคำๆนี้ เพื่อลดความเกร็งของการเดินเข้าชม gallery ได้บ้างไม่มากก็น้อย
- ลูกศิษย์ครูนาวิน (ครูที่พาให้เราไปเห็นความสำคัญและความสัมพันธ์ของคำว่า’บ้าน‘ในทุกๆมุมของชีวิต)
Add a comment